ReadyPlanet.com
dot
dot
bulletรับรองกงสุล/Legalization
bulletรับรองสถานทูต/Embassy
bulletรับรองทนาย/Lawyer
bulletรับทำใบขับขี่สากล
bulletรับทำ PAN CARD
dot
dot
bulletDownload หนังสือมอบอำนาจ
bulletCompany Profile
bulletJob Opportunity
bulletFAQ-แปลเอกสาร
bulletFAQ-ใบขับขี่สากล
dot
dot
bulletติดต่อสถานทูตประเทศต่างๆ




ความแตกต่างของใบขับขี่สากลแต่ละประเภท

ความแตกต่างของใบขับขี่สากลแต่ละประเภท

 แนะนำวิธีการยื่นขอใบขับขี่สากลว่าต้องทำอย่างไร 

 

ใบขับขี่สากล

 

การท่องเที่ยวต่างประเทศ เราสามารถเลือกได้ว่าอยากใช้วิธีการเดินทางแบบใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้า รถราง หรือรถโดยสารประจำทาง แต่นักท่องเที่ยวบางคนก็เลือกใช้การเดินทางด้วยการขับรถเองเพราะความสะดวกสบายที่มากกว่า มีความเป็นส่วนตัว ไม่ต้องใช้บริการรถสาธารณะร่วมกับผู้อื่น อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้ตามต้องการ

แต่การจะขับขี่รถยนต์ส่วนตัวในต่างประเทศได้นั้น จำเป็นต้องมี “ใบขับขี่สากล” ที่ถูกต้องตามกฎหมาย วันนี้เราได้นำเรื่องน่ารู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับใบขับขี่สากลมาฝากกัน ไม่ว่าจะเป็นประเภทของใบขับขี่สากล การเตรียมเอกสาร และขั้นตอนการยื่นใบขับขี่สากลว่าเป็นอย่างไรบ้าง


ใบขับขี่สากลมีกี่แบบ

ใบขับขี่สากลมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ใบขับขี่ระหว่างประเทศ (International Driving Permit: IDP)” คือเอกสารที่ใช้ในการยืนยันตัวตนเพื่อขับขี่รถยนต์ในต่างประเทศที่มีการรองรับใบขับขี่สากล สามารถใช้เพื่อให้ผู้ถือสามารถขับขี่ยานพาหนะในต่างประเทศได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการขับขี่ยานพาหนะในต่างประเทศ เพราะถ้าหากไม่มีใบขับขี่สากลก็จะไม่สามารถเช่ารถยนต์จากบริษัทรับเช่ารถได้ หรือในกรณีที่ขับรถบนท้องถนนไปแล้วมีเจ้าหน้าที่ต้องการให้แสดงใบขับขี่สากล ถ้าไม่มีเอกสารก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายของประเทศนั้น ๆ จึงควรดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ

เราสามารถแบ่งใบขับขี่สากลได้เป็น 2 ประเภทตามอนุสัญญา 2 ฉบับ คือ ‘อนุสัญญาเจนีวา 1949’ และ ‘อนุสัญญาเวียนนา 1968’ ซึ่งเดิมทีประเทศไทยใช้เพียงใบขับขี่สากลตามอนุสัญญาเจนีวา 1949 เท่านั้น แต่หลังจากมีการปรับแก้สัญญาและเกิดอนุสัญญาเวียนนา 1968 ขึ้น ประเทศไทยก็ได้ประกาศเพิ่มให้สามารถทำใบขับขี่ตามอนุสัญญาเวียนนา 1968 ได้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นมา

  1. อนุสัญญาเจนีวา 1949
    อนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ณ นครเจนีวา ค.ศ. 1949 ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีมาอย่างยาวนาน โดยใบขับขี่สากลภายใต้อนุสัญญานี้มีอายุการใช้งาน 1 ปี สามารถใช้ได้ใน 101 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิตาลี เป็นต้น

  2. อนุสัญญาเวียนนา 1968
    อนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ณ กรุงเวียนนา ค.ศ. 1968 สามารถใช้ได้ครอบคลุม 84 ประเทศ ซึ่งบางประเทศก็อาจไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาเจนีวาด้วย ใบขับขี่สากลตามอนุสัญญาเวียนนา 1968 จึงเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่กำลังจะเดินทางไปประเทศที่อนุสัญญาเจนีวาไม่ครอบคลุม ทำให้เราสามารถทำใบขับขี่สากลเพื่อไปท่องเที่ยวในต่างประเทศได้หลากหลายกว่าเดิม และมีอายุการใช้งานถึง 3 ปี
    นอกจากนี้ยังมีบางประเทศที่ครอบคลุมทั้งใบขับขี่สากลทั้งแบบเจนีวาและเวียนนา เช่น อังกฤษ รัสเซีย อิตาลี ผู้ที่สามารถยื่นขอทำใบขับขี่สากลได้จะต้องมีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชนิด 5 ปี หรือตลอดชีพเท่านั้น ผู้ที่ถือใบขับขี่ประเภทชั่วคราวหรือหนึ่งปีจะยังไม่สามารถขอใบขับขี่สากลได้ และข้อสำคัญอีกอย่างที่ควรรู้คือ เมื่อใบขับขี่สากลหมดอายุจะต้องดำเนินการขอใหม่ ไม่ใช่การต่ออายุ โดยสามารถขอใบขับขี่สากลเล่มใหม่ก่อนที่เล่มเก่าจะหมดอายุได้ไม่เกินหนึ่งเดือน

 

หลักฐานประกอบคำขอที่ต้องใช้ในการทำใบขับขี่สากล

  1. หนังสือเดินทางเล่มที่ใช้ในการเดินทางและยังไม่หมดอายุ (สำเนาและฉบับจริง)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ (ฉบับจริง)
  3. ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลแบบ 5 ปี หรือแบบตลอดชีพที่ยังไม่หมดอายุ ใช้ได้ทั้งใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถสาธารณะ (ฉบับจริง/ ใบแทนใบอนุญาตแล้วแต่กรณี)
  4. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายรูปหน้าตรงเห็นใบหน้าชัดเจน ไม่สวมหมวกหรือสวมแว่นตาสีเข้ม ไม่มีภาพวิวหลังรูป และถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
  5. สำเนาหลักฐานการแก้ไขชื่อ – นามสกุล กรณีที่ชื่อในใบขับขี่และหนังสือเดินทางไม่ตรงกัน ทะเบียนสมรสหรือใบหย่า


  คลิกเพื่อเพิ่มศูนย์แปลเอกสารมาสเตอร์ พีซ เป็นเพื่อน คลิกเพื่อโทรหาเรา  


ในกรณีที่เจ้าตัวไม่สามารถมาดำเนินการยื่นเอกสารต่าง ๆ ได้นั้น สามารถให้ผู้อื่นมายื่นขอใบขับขี่สากลให้ได้ โดยจะต้องมีหลักฐานเพิ่มเติม ได้แก่

  1. ใบมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
  2. บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจที่ยังไม่หมดอายุ (สำเนาและฉบับจริง)
  3. สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจที่ยังไม่หมดอายุ

การยื่นขอใบขับขี่สากล

การทำใบขับขี่สากลสามารถทำได้โดยไม่มีการอบรมหรือทดสอบใด ๆ เพิ่มเติม สามารถไปรับบริการได้ที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่
1 – 5 หรือสำนักงานขนส่งส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดทั่วประเทศโดยไม่ต้องจองคิวล่วงหน้า เพียงแค่เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เมื่อยื่นเรื่องก็สามารถรอรับภายในวันนั้น ระหว่างการยื่นเรื่องจะต้องแจ้งชื่อประเทศที่ต้องการใช้ใบขับขี่สากลเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถออกใบขับขี่ประเภทที่สามารถใช้งานกับประเทศนั้น ๆ ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารและออกคำขอให้ หลังจากชำระค่าธรรมเนียมแล้วก็สามารถรอรับใบขับขี่สากลได้ทันที

หวังว่าทุกคนจะได้รู้เรื่องใบขับขี่สากลกันมากขึ้น ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเตรียมเอกสารครบถ้วนในขั้นตอนการยื่นขอ และควรทำใบขับขี่สากลที่สามารถใช้งานได้ในประเทศที่ต้องการได้อย่างถูกกฎหมาย แต่สำหรับคนที่ต้องการตัวช่วยเพราะไม่มีเวลาไปยื่นเอกสารด้วยตัวเอง ต้องการความสะดวกรวดเร็วเป็นพิเศษ หรือต้องการให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องการทำใบขับขี่สากลช่วยดูแล มาสเตอร์ พีซ ทรานสเลชั่น ก็พร้อมให้บริการ
มาสเตอร์ พีซ ทรานสเลชั่น บริการรับทำใบขับขี่สากล ใบขับขี่ระหว่างประเทศ ที่คุณสามารถใช้บริการได้ทั่วประเทศและทั่วโลก คุณสามารถส่งเอกสารผ่านทาง LINE รอให้เราจัดเตรียมเอกสารและดำเนินการกับกรมการขนส่งทางบก เมื่อได้รูปเล่มแล้วทางสำนักงานของเราจะจัดส่งทางไปรษณีย์ หลังจากนั้นก็รับใบขับขี่ได้เลย เราพร้อมดูแลในทุกขั้นตอนของการทำใบขับขี่สากล รับรองว่าคุณจะได้รับความสะดวก รวดเร็ว และคุ้มค่า

 

ติดต่อเรา มาสเตอร์ พีซ ทรานสเลชั่น
โทร : 02-9075533, 081-8024950
Line ID :
@line2004
Email : 
mpttranslator@gmail.com 

 




บทความสาระน่ารู้

เอกสารใดบ้างที่เป็นที่นิยมสำหรับการแปลเอกสาร
ทำไมยื่นวีซ่าต้องใช้หนังสือรับรองความประพฤติ
How to เลือกศูนย์แปลภาษาน่าเชื่อถือ ได้งานดี มีคุณภาพ
6 เหตุผล การเลือกใช้บริการแปลเอกสาร VS การแปลด้วยตนเอง
ทำไมต้องแปลเอกสารพร้อมรับรอง? เอกสารใดบ้างที่ต้องรับรอง
ทำไมการประกอบธุรกิจต้องขอหนังสือรับรองความประพฤติ
ความสำคัญของหนังสือรับรองความประพฤติ
ขั้นตอนการทำใบขับขี่สากลในประเทศไทย
ทำไมต้องมีหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรม
ทำไมต้องแปลเอกสารที่ มาสเตอร์ พีซ ทรานสเลชั่น